วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

69
แฟรนเคล (Fraenkel)กล่าวว่าค่านิยมเป็นความคิด (Idea) หรือความคิดรวบยอด (concept)ในสิ่งที่เราเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเรา เมื่อบุคคลมีค่านิยมในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแสดงว่าเขาเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น (Fraenke , 1997 : 6)
จากความหมายของค่านิยมที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้ข้าวต้น อาจสรุปได้ว่า ค่านิยมหมายถึงความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สังคมใดสังคมหนึ่งกำหนดขึ้นและถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามถูกต้อง คนในสังคมนั้นยอมรับและนำไปประพฤติปฏิบัติตามอันแสดงให้เห็นได้ทางแนวความคิดและพฤติกรรมทั้งของบุคคลและสังคม ค่านิยมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคและบุคคลในสังคม ในลักษณะดังกล่าวนี้ค่านิยมจึงเป็นมาตรฐานในการประเมินการเลือกเป็นแบบแผนสำหรับการตัดสินใจของบุคคลว่าควรทำหรือไม่ควรทำ สำคัญหรือไม่สำคัญ ทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจ ผลักดันให้บุคคลมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องก่อให้เกิดความดีงามแก่สังคมด้วยหรือไม่
ประเภทของค่านิยม
ท่านผู้รู้แบ่งค่านิยมออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
ประสาร มาลากุล กล่าวถึงประเภทของค่านิยมตามทรรศนะของ อี.สแปรนเจอร์ (E.Spranger) ที่จำแนกลักษณะค่านิยมที่สำคัญของมนุษย์ไว้ 6 ประเภท โดยที่คนส่วนมากจะมีค่านิยมเหล่านี้ หนึ่ง หรือสองประเภทที่เด่นชัดกว่าประเภทอื่นๆ คือ

1.ค่านิยมทางทฤษฎีหรือวิชาการ (theoritical value)
ค่านิยมทางทฤษฎีหรือวิชาการ หมายถึง ค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ ความจริง เหตุผล และการรวบรวมจัดระบบความรู้
2.ค่านิยมทางเศรษฐกิจ(ecnomic value)
ค่านิยมทางเศรษฐกิจ หมายถึง ค่านิยมที่ทำให้บุคคลแสวงหาประโยชน์ ทรัพย์สิน และความมั่งคั่ง
3.ค่านิยมสุนทรียภาพ(aesthetic value)
ค่านิยมทางสุนทรียภาพ หมายถึง ค่านิยมที่เกียวกับความชื่นชม พึงพอใจในความงาม รูปแบบ และความเหมาะสมกลมกลืนในลักษณะต่างๆ
4.ค่านิยมทางสังคม(social value)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น