68
ความชอบ (preference) หน้าที่ (duties) พันธกรณีทางศีลธรรม (moralobligations) ความปรารถนา (desires) ความอยาก (wants) ความต้องการ (needs) ความแหนงหน่าย (aversions) หรือความรู้สึกอื่นๆ ที่มนุษย์เชื่อและยึดถือเอาเป็นทางสำหรับเลือก (ปราโมทย์ นาคทรระ , 2514 : 74)
พนัส หันนาคินทร์ กล่าวว่า ค่านิยม หมายถึงการยอมรับนับถือ และพร้อมที่จะปฏิบัติบตามคุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนมีอยู่ต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจเป็นวัตถุ ความคิด อุดมคติ รวมทั้งการกระทำ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสุนทรียภาพ ทั้งนี้โดยได้ทำการประเมินค่าจากทรรศนะต่างๆ โดยถี่ถ้วนรอบคอบแล้ว (พนัส หันนาคินทร์ , 2526 : 18)
นาตยา ภัทรแสงไทย กล่าวว่า ค่านิยมเป็นความคิดเกี่ยวกับการเห็นคัณค่าของสิ่งต่างๆ เป็นความคิดรวบยอดในลักษณะนามธรรม โดยหลักการค่านิยมมักนำมาใช้ในการตัดสินใจในคุณค่าของสิ่งต่างๆ และค่านิยมยังหมายถึงลักษณะอื่นอีก คือ เป็นความรู้สึกในด้านอารมณ์ เป็นลักษณของการยอมรับทางอารมณ์ ความรู้สึกในการชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนจะมีความระมัดระวังเอาใจใส่อย่างมากต่อสิ่งที่เขาเห็นคุณค่า ดังนั้นค่านิยมจึงเป็นทั้งความคิดและความรู้สึก คือมีส่วนประกอบทั้งในด้านความรู้และความรู้สึก(นาตยา ภัทรแสงไทย , 2524 : 21-22)
ไพฑูรย์ เครือแก้ว กล่าวว่า ค่านิยมของสังคม หมายถึงสิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเป็น หรือกลับกลายมาเป็น นสิ่งบังคับต้องทำต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่องและมีความสุขที่จะฟังได้เป็นเจ้าของ(ไพฑูรย์ เครือแก้ว , 2515 : 88)
สมาน ชาลีเครือ กล่าวว่า ค่านิยมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตของบุคคลในสังคม ทั้งนี้เพราะว่า ค่านิยมเป็นสิ่งที่คนถือว่า เป็นสิ่งบังคับต่องทำ ต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนยกย่องบูชา ค่านิยมมิได้เป็นเพียงเรื่องของการถูกหรือผิด เท็จหรือจริงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเงื่อนไขต่างๆที่เป็นเครื่องนำพฤติกรรมในชีวิตคนเราอีกด้วย(สมาน ชาลีเครือ , 2523 : 8)
พีเชอร์ (Feather) ให้ความหมายของค่านิยมไว้ว่า ค่านิยมเป็นความเชื่อที่มีลักษณะยืนยงถาวร เป็นแนวทางในการปะพฤติ หรือเป็นเป้าหมายในการดำรงชีวิตเป็นสิ่งที่ตนเองหรือสังคมเห็นดีและเห็นชอบ สมควรที่จะยึดถือปฏิบัติมากกว่าวิถีปฏิบัติหรือเป้าหมายชีวิตอย่างอื่น (Feather , 1975 : 4-5)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น