วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

69
แฟรนเคล (Fraenkel)กล่าวว่าค่านิยมเป็นความคิด (Idea) หรือความคิดรวบยอด (concept)ในสิ่งที่เราเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเรา เมื่อบุคคลมีค่านิยมในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแสดงว่าเขาเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น (Fraenke , 1997 : 6)
จากความหมายของค่านิยมที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้ข้าวต้น อาจสรุปได้ว่า ค่านิยมหมายถึงความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สังคมใดสังคมหนึ่งกำหนดขึ้นและถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามถูกต้อง คนในสังคมนั้นยอมรับและนำไปประพฤติปฏิบัติตามอันแสดงให้เห็นได้ทางแนวความคิดและพฤติกรรมทั้งของบุคคลและสังคม ค่านิยมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคและบุคคลในสังคม ในลักษณะดังกล่าวนี้ค่านิยมจึงเป็นมาตรฐานในการประเมินการเลือกเป็นแบบแผนสำหรับการตัดสินใจของบุคคลว่าควรทำหรือไม่ควรทำ สำคัญหรือไม่สำคัญ ทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจ ผลักดันให้บุคคลมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องก่อให้เกิดความดีงามแก่สังคมด้วยหรือไม่
ประเภทของค่านิยม
ท่านผู้รู้แบ่งค่านิยมออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
ประสาร มาลากุล กล่าวถึงประเภทของค่านิยมตามทรรศนะของ อี.สแปรนเจอร์ (E.Spranger) ที่จำแนกลักษณะค่านิยมที่สำคัญของมนุษย์ไว้ 6 ประเภท โดยที่คนส่วนมากจะมีค่านิยมเหล่านี้ หนึ่ง หรือสองประเภทที่เด่นชัดกว่าประเภทอื่นๆ คือ

1.ค่านิยมทางทฤษฎีหรือวิชาการ (theoritical value)
ค่านิยมทางทฤษฎีหรือวิชาการ หมายถึง ค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ ความจริง เหตุผล และการรวบรวมจัดระบบความรู้
2.ค่านิยมทางเศรษฐกิจ(ecnomic value)
ค่านิยมทางเศรษฐกิจ หมายถึง ค่านิยมที่ทำให้บุคคลแสวงหาประโยชน์ ทรัพย์สิน และความมั่งคั่ง
3.ค่านิยมสุนทรียภาพ(aesthetic value)
ค่านิยมทางสุนทรียภาพ หมายถึง ค่านิยมที่เกียวกับความชื่นชม พึงพอใจในความงาม รูปแบบ และความเหมาะสมกลมกลืนในลักษณะต่างๆ
4.ค่านิยมทางสังคม(social value)
68
ความชอบ (preference) หน้าที่ (duties) พันธกรณีทางศีลธรรม (moralobligations) ความปรารถนา (desires) ความอยาก (wants) ความต้องการ (needs) ความแหนงหน่าย (aversions) หรือความรู้สึกอื่นๆ ที่มนุษย์เชื่อและยึดถือเอาเป็นทางสำหรับเลือก (ปราโมทย์ นาคทรระ , 2514 : 74)
พนัส หันนาคินทร์ กล่าวว่า ค่านิยม หมายถึงการยอมรับนับถือ และพร้อมที่จะปฏิบัติบตามคุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนมีอยู่ต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งอาจเป็นวัตถุ ความคิด อุดมคติ รวมทั้งการกระทำ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสุนทรียภาพ ทั้งนี้โดยได้ทำการประเมินค่าจากทรรศนะต่างๆ โดยถี่ถ้วนรอบคอบแล้ว (พนัส หันนาคินทร์ , 2526 : 18)
นาตยา ภัทรแสงไทย กล่าวว่า ค่านิยมเป็นความคิดเกี่ยวกับการเห็นคัณค่าของสิ่งต่างๆ เป็นความคิดรวบยอดในลักษณะนามธรรม โดยหลักการค่านิยมมักนำมาใช้ในการตัดสินใจในคุณค่าของสิ่งต่างๆ และค่านิยมยังหมายถึงลักษณะอื่นอีก คือ เป็นความรู้สึกในด้านอารมณ์ เป็นลักษณของการยอมรับทางอารมณ์ ความรู้สึกในการชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คนจะมีความระมัดระวังเอาใจใส่อย่างมากต่อสิ่งที่เขาเห็นคุณค่า ดังนั้นค่านิยมจึงเป็นทั้งความคิดและความรู้สึก คือมีส่วนประกอบทั้งในด้านความรู้และความรู้สึก(นาตยา ภัทรแสงไทย , 2524 : 21-22)
ไพฑูรย์ เครือแก้ว กล่าวว่า ค่านิยมของสังคม หมายถึงสิ่งที่คนสนใจ สิ่งที่คนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเป็น หรือกลับกลายมาเป็น นสิ่งบังคับต้องทำต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่องและมีความสุขที่จะฟังได้เป็นเจ้าของ(ไพฑูรย์ เครือแก้ว , 2515 : 88)
สมาน ชาลีเครือ กล่าวว่า ค่านิยมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางสังคม และวิถีชีวิตของบุคคลในสังคม ทั้งนี้เพราะว่า ค่านิยมเป็นสิ่งที่คนถือว่า เป็นสิ่งบังคับต่องทำ ต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนยกย่องบูชา ค่านิยมมิได้เป็นเพียงเรื่องของการถูกหรือผิด เท็จหรือจริงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเงื่อนไขต่างๆที่เป็นเครื่องนำพฤติกรรมในชีวิตคนเราอีกด้วย(สมาน ชาลีเครือ , 2523 : 8)
พีเชอร์ (Feather) ให้ความหมายของค่านิยมไว้ว่า ค่านิยมเป็นความเชื่อที่มีลักษณะยืนยงถาวร เป็นแนวทางในการปะพฤติ หรือเป็นเป้าหมายในการดำรงชีวิตเป็นสิ่งที่ตนเองหรือสังคมเห็นดีและเห็นชอบ สมควรที่จะยึดถือปฏิบัติมากกว่าวิถีปฏิบัติหรือเป้าหมายชีวิตอย่างอื่น (Feather , 1975 : 4-5)
67
ระดับกลางได้แก่กระทำพฤติกรรมใดๆ ที่แสดงถึงความปรารถนาว่าจะ...
6. ไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นการทำร้ายบุคคลและสัตว์
7. ไม่ยึดถือนำเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินของคนอื่นมาเป็นของตน
8. ไม่พูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
9. ไม่พูดในสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกแยกหรือความทุกข์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
10.ไม่ชักจูงหลอกลวงเพศตรงข้ามให้เกิดความเสียหาย
11.ไม่ทดลองหรือเสพของเสพติดมึนเมา
ระดับสูงได้แก่กระทำพฤติกรรมใดๆ ที่แสดงถึงเจตนาว่าจะ...
12.ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เป็นทุกข์
13.พยามให้วัตถุ สิ่งของและทรัพย์สินของผู้อื่น ดำรงสภาพเดิมของเจ้าของ
14.ฟูดสิ่งที่เป็นเหตุผลตามความเป็นจริง
15.ไม่สร้างความเสียหายทางชู้สาวแก่ผู้ที่มีเจ้าของแล้ว
16.รับในความผิดอันเกิดจากการกระทำของตน
17.ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งเสพติดมึนเมา

ค่านิยม
ค่านิยม หมายถึง ความชื่นชมยินดีในคุณประโยชน์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือความชอบในคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายตามตัวอักษร ส่วนความหมายตามความเข้าใจของบุคคล หรือความหมายตามที่มุ่งหมายนั้นท่านผู้รู้ให้ความเห็นดังต่อไปนี้
พัทยา สายหู อธิบายว่า ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่ยึดถือเป็นประจำที่จะต้องเลือกในการกระทำอยู่ มนุษย์จะต้องอาศัยคุณค่าหรือค่านิยมประจำตัวเป็นเครื่องกำหนด แม้แต่สิ่งที่เคยทำเป็นนิสัย (พัทยา สายหู , 2516 : 51)
ปราโมทย์ นาครทรรพ กล่าวถึงค่านิยม ตามทัศนคติของวิลเลียม นักสังคมวิทยา ว่า ค่านิยม อาจหมายถึง ความสนใจ (Interests) ความยินดี (Pleasures)

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พหูสูต

พหูสูต หมายถึง “ความเป็นผู้ฉลาดรู้” คือผู้ที่รู้จักเลือกในสิ่งที่ควรรู้ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก ได้ยินได้ฟังมามาก และเป็นคนช่างสังเกต ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นต้นทางแห่งปัญญา ทำให้เกิดความรู้สำหรับบริหารงานชีวิตและเป็นกุญแจไขไปสู่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และทุกสิ่งที่ เราปรารถนา

ความแตกต่างระหว่างบัณฑิตและพหูสูต
บัณฑิต คือ ผู้มีคุณธรรมประจำใจ มีความประพฤติดีงาม ไม่ว่าจะมีความรู้มากหรือน้อยก็ตาม บัณฑิตจะใช้ความรู้นั้น ๆ สร้างประโยชน์แก่ตนเอง และผู้อื่นอย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่สามารถเอาตัวรอดได้แน่นอน ไม่ตกไปสู่อบายภูมิเป็นอันขาด
พหูสูต คือ ผู้มีความรู้มาก แต่คุณธรรมความประพฤติยังไม่แน่ว่าจะดียังไม่แน่ว่าจะดี ยังไม่แน่ว่าจะเอาตัวรอดได้ ถ้าใช้ความรู้ที่มีอยู่ไปทำชั่ว เช่น เอาความรู้เคมีไปผลิตเฮโรอีน ก็อาจตกนรกได้

ลักษณะของพหูสูต คือ
๑. รู้ลึก หมายถึง รู้เรื่องราวไปหาเหตุในอดีต ลึกซึ้งถึงความเป็นมา เช่น แพทย์เมื่อเห็นอาการก็สามารถรู้ว่าเป็นโรคอะไรรู้ไปถึว่าที่เป็นโรคนี้เพราะเหตุใด หรือช่างเมื่องเห็นอาการเครื่องยนต์ที่เสียก็สามารถบอกได้ทันทีว่าเครื่องนั้นเสียที่ไหน เป็นเพราะอะไร เป็นต้น
๒. รู้รอบ หมายถึง ช่างสังเกต รู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว สิ่งที่ควรรู้ต้องรู้
๓. รู้กว้าง หมายถึง สิ่งรอบตัว แต่ละอย่างที่รู้ก็รู้อย่างละเอียดรู้ถึงความเกี่ยวพันของสิ่งนั้นกบสิ่งอื่น ๆ ด้วย คล้ายรู้รอบแต่เก็บรายละเอียดมากขึ้น
๔. รู้ไกล หมายถึง มองการณ์ไกล รู้ถึงผลที่จะตามมาในอนาคต เช่น เห็นสภาพดินฟ้าอากาศก็รู้ทันทีว่าปีนี้พืชผลชนิดใดจะขาดแคลน เห็นพฤติการณ์ ของผู้ร่วมงานไม่น่าไว้วางใจก็รู้ทันทีว่า เขากำลังจะคิดไม่ซื่อ เห็นตนเองเริ่มย่อหย่อนต่อการปฏิบัติธรรมก็รู้ทันทีว่าถ้าทิ้งไว้เช่นนี้ต่อไปตนก็จะเสื่อมจากกุศลธรรม ฯลฯ
ผู้ที่ประกอบด้วยความรู้ ๔ ประการนี้ ทั้งทางโลกและทางธรรมจึงจะเป็นพหูสูตที่แท้จริง

คุณสมบัติของพหูสูต หรือนักเรียน นักศึกษาที่ดี
๑.พหุสฺสุตา ความตั้งใจฟัง คือมีนิสัยชอบฟัง ชอบอ่าน ชอบค้นคว้า ยึดหลัก “เรียนจากครู ดูจากตำรับ สดับปาฐะ”
๒.ธตา ความตั้งใจจำ คือมีความจำดี รู้จักจับสาระสำคัญ จับหลักให้ได้ แล้วจำได้แม่นยำ คนที่ความจำไม่ดี เพราะภพในอดีตชอบพูดปด ดื่มสุรามาก ฯลฯ ดังนั้น ถ้าในชาตินี้เลิกดื่มสุรา เลิกพูดปดและพยายามบ่อย ๆ หมั่นจดหมั่นเขียนบ่อย ๆ ไม่ช้าก็จะเป็นผู้มีความจำดี
๓.วจสา ปริจิตา ความตั้งใจท่อง คือต้องฝึกท่องให้คล่องปากท่องจนขึ้นใจ จำได้คล่องแคล่วจัดเจน ไม่ต้องพลิกตำรา โดยเฉพาะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความจริงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง ควรท่องไว้ให้ขึ้นใจทุกข้อกระทงความให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ส่วนวิชาการทางโลกยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เพราะยังไม่มีใครรู้จริง จึงควรท่องเฉพาะที่สำคัญ และหมั่นคิดหาเหตุผลด้วย
๔.มนสานุเปกขา ความตั้งใจขบคิด คือใส่ใจนึกคิด ตรึกตรองสาวเหตุสาวผลให้เข้าใจตลอด พิจารณาให้เจนจบ นึกถึงครั้งใดก็เข้าใจปรุโปร่งหมด
๕.ทิฏฐิยา สุปฏิวิทฺธา ความแทงตลอดด้วยปัญญา คือเข้าใจแจ่มแจ้งทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ความรู้กับใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างไรก็ตามตราบใดที่ยังไม่ได้ฝึกสมาธิอย่างจริงจังคุณสมบัติข้อนี้ จะเกิดไม่เต็มที่

ลักษณะผู้ที่เป็นพหูสูตไม่ได้
๑.คนราคจริต คือ คนขี้โอ่ บ้ายอ เจ้าแง่แสนงอน รักสวยรักงาม พิถีพิถันจนเกินเหตุ มัวแต่งอน มัวแต่แต่งตัวจนไม่มีเวลาท่องบ่น ค้นคว้าหาความรู้ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นนึกถึงความตาย พิจารณาซากศพอสุภะเนือง ๆ
๒.คนโทสจริต คือ คนขี้โมโห ฉุนเฉียว โกรธง่าย ผูกพยาบาทมากมัวแต่คิดโกรธแค้นจนไม่มีเวลาไตร่ตอง พวกนี้แต้โดยให้หมั่นรักษาศีลและแผ่เมตตาเป็นประจำ
๓.คนโมหจริต คือ คนสะเพร่า ขี้ลืม มักง่าย ทำอะไรไม่พยายามเอาดีสักแต่ให้เสร็จ สติไม่มั่นคง ใจกระด้างในการกุศล สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามีคุณจริงหรือไม่ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ
๔.คนขี้ขลาด คือ พวกขาดความเชื้อมั่นในตนเอง ไม่กล้าลงมือทำอะไร กลัวถูกติ คอยแต่จะเป็นผู้ตาม ไม่มีความคิดริเริ่ม พวกนี้แก้โดยให้คบกับคนมาตรฐาน คือ คบบัณฑิต จะอ่าน จะทำอะไรก็ให้จับให้ทำแต่สิ่งที่เป็นมาตรฐานไม่สักแต่ว่าทำ
๕.คนหนักในอามิส คือ พวกบ้าสมบัติ ตีค่าทรัพย์ว่ามากกว่าความรู้ทำให้ไม่ขวนขวายในการแสวงหาปัญญาเท่าที่ควร
๖.คนจับจด คือ พวกทำอะไรเหยาะแหยะไม่เอาจริง
๗.นักเลงสุรา คือพวกขี้เมา ขาดสติ หมดหนทางที่จะเรียนรู้
๘.คนที่มีนิสัยเหมือนเด็ก คือ พวกชอบเอิกเกริกสนุกเฮฮาจนเกินเหตุ ไม่มีความรับผิดชอบ

วิธีฝึกตนเองให้เป็นพหูสูต
๑. ฉลาดเลือกเรียนแต่สิ่งที่ควร
๒. ตั้งใจเรียนวิชาที่ตนเลือกอย่างเต็มความสามารถ
๓. มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
๔. เมื่อเรียนแล้วก็จำไว้เป็นอย่างดี พร้อมจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ทันที
๕. ควรจะมีความรู้ธรรมควบคู่ไปด้วย

ข้อเตือนใจ
ถ้ามีความรู้ทางโลกอย่างเดียว ไม่ว่าตนเองจะเป็นคนฉลาดเพียงใดก็มีโอกาสพลาดพลั้งได้ เช่น มีความรู้เรื่องปรมาณู อาจนำไปใช้ในทางสันติเป็นแหล่งพลังงาน หรือนำไปสร้างระเบิดทำลายล้างชีวิตมนุษย์ก็ได้ เราจึงต้องศึกษาความรู้ทางธรรมไว้คอยกำกับความรู้ทางโลกด้วย ควารู้ทางธรรมะจะเป็นเสมือนดวงประทีปส่องให้เห็นว่า สิ่งที่กระทำนั้นถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร
ผู้ที่คิดแต่จะตักตวงความรู้ทางโลก แม้จะฉลาดร่ำรวยมีอำนวจสักปานใดก็ไม่น่ารัก ไม่น่าเคารพ ไม่น่ายำเกรง ไม่น่านับถือ ยังเป็นบุคคล ประเภทเอาตัวไม่รอด
โปรดจำไว้ว่า “ความรู้ที่เกิดแก่คนพาล ย่อมนำความฉิบหายมาให้ เพราะเขาจะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิด ๆ” เราทุกคนจึงควรจะแสวงหาโอกาสศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมและรู้ให้ลึกซึ้งเกินกว่า การงานที่ตนตับผิดชอบ ความรู้ที่เกินมานี้ จะเป็นเสมือนดวงประทีป ส่องให้เห็นทางเบื้องหน้าที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย

อานิสงส์การเป็นพหูสูต
๑.ทำให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้
๒.ทำให้ได้ความเป็นผู้นำ
๓.ทำให้แกล้วกล้าองอาจในทุกที่ทุกสถาน
๔.ทำให้บริบูรณ์ด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
๕.ทำให้ได้รับคำชมเชย ได้รับความยกย่องเกรงใจ
๖.ไม่มีใครแย่งชิงได้ เป็นสหชาติปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไป
๗.เป็นพื้นฐานของศิลปะ และความสามารถอื่น ๆ ต่อไป
๘.ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

นิทานชาดก กากินน้ำทะเล

นิทานชาดก กากินน้ำทะเล
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระอุปนันทเถระผู้ไม่รู้จักพอแล้วเที่ยวสอนภิกษุอื่นให้รู้จักพอ จึงตรัสพระคาถาว่า
” บุคคลควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วพึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง
บัณฑิตจะไม่พึงเศร้าหมอง ”
แล้วได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นเทวดารักษาสมุทร สมัยนั้นมีกาน้ำตัวหนึ่งบินเที่ยวหากินอยู่ในมหาสมุทรนั้นมักร้องห้ามฝูงนก ฝูงปลาว่า
” ท่านทั้งหลาย จงดื่มกินน้ำทะเลเพียงเล็กน้อยนะ ช่วยกันประหยัดน้ำทะเลด้วย ”

เทวดาเห็นพฤติกรรมของมันแล้วจึงถามไปว่า
” ใครนะ ช่างบินวนเวียนอยู่แถวนี้ เที่ยวร้องห้ามฝูงนกฝูงปลาอยู่ ท่านจะไปเดือดร้อนอะไรกับน้ำทะเลด้วยละ ”

มันจึงตอบว่า ” ข้าพเจ้าคือกาผู้ไม่รู้จักอิ่ม ปรารถนาจะดื่มน้ำทะเลผู้เดียว กลัวว่าน้ำทะเลจะหมดก่อน จึงต้องร้องห้ามอย่างนั้น ”

เทวดาได้ฟังเช่นนั้นจึงกล่าวเป็นคาถาว่า
” ทะเลใหญ่นี้จะลดลงหรือเต็มอยู่ก็ตามที
ที่สุดของน้ำแห่งทะเลใหญ่นั้นที่บุคคลดื่มแล้ว ใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้
ทราบว่า สาครอันใคร ๆ ไม่อาจดื่มให้หมดสิ้นไปได้ ”

ว่าแล้วก็แปลงร่างเป็นรูปที่น่ากลัวขับไล่กาน้ำนั้นให้หนีไป

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อย่าไปพะวงอะไรกับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะจะทำให้จิตฟุ้งซ่านไปเปล่า ๆ

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้

เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

โลกธรรม 8

"โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของโลกซึ่งมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์ เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม อยู่ที่ว่า ใครจะประสบมาก หรือประสบน้อยช้าหรือเร็วกว่ากัน

โลกธรรม แบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กัน ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกัน คือ ฝ่ายอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนาและฝ่ายอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ดังนี้

โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ

1. ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา

2. ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต

3. ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ

4. ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ

1. เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป

2. เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ

3. ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกผู้อื่นพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา

4. ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรเป็นตัวของเราเอง ไม่มีใครในโลกนี้จะพบแต่ความสมหวังตลอดชีวิต จะต้องพบกับคำว่าผิดหวังบ้าง

ผู้มีปัญญาได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างดีแล้ว พึงทำใจเอาไว้กลางๆ ว่า มีคนนินทา ก็ต้องมีคนสรรเสริญ มีสุขก็ต้องมีทุกข์ มีลาภย่อมเสื่อมลาภ มียศก็ย่อมเสื่อมยศ หากเราหวังอะไรเกินเหตุ เมื่อเวลาเราผิดหวัง ไม่สมหวัง ให้ทำใจไว้ว่านั่นคือโลกธรรมทั้ง 8 คือ มีได้ก็ต้องเสื่อมได้ เป็นของธรรมดาในโลกนี้ ไม่ว่าสัตว์หรือบุคคลใด ก็ย่อมหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้น เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็ย่อมหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้นอย่างแน่นอน เพราะเมื่อไม่สมปรารถนาที่ตัวเองคิดไว้ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียอกเสียใจ รำพึงรำพันกับตัวเองถึงความไม่สมหวัง จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์มาก

เพราะฉะนั้น จงใช้สติปัญญาหมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่า สิ่งใดมีเกิดขึ้น ก็ต้องมีเสื่อมไปเป็นของธรรมดา เหมือนโลกธรรมทั้ง 8 ประการ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ทุกคนจะต้องตกอยู่ในโลกธรรม 8 กันถ้วนหน้า จะได้ไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างเป็นสุข"

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท 4
คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

อกุศลกรรม 10 ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพวิศวคอม

1.ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์
นำมาประยุกต์ใช้ = ไม่มี

2.ขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
นำมาประยุกต์ใช้ = ไม่ออกแบบระบบที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หรือไม่ล่าวงละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีอยู่แล้ว

3. ประพฤติผิดในกาม
นำมาประยุกต์ใช้ = ไม่มี

4. โกหก หลอกลวง
นำมาประยุกต์ใช้ = ไม่โกหกหลอกลวงผู้ที่เข้ามาใช้ระบบคือ ออกแบบระบบตามความเป็นจริงไม่โกหกหลอกลวงไปในทางที่ผิด

5. พูดส่อเสียด ดูถูก
นำมาประยุกต์ใช้ = ไม่มี

6. พูดหยาบ
นำมาประยุกต์ใช้ = ในการออกแบบระบบควรใช้คำที่สุภาพไม่หยาบคาย และใช้ภาษาอย่างเป็นทางการ


7. พูดเพ้อเจ้อ นินทา
นำมาประยุกต์ใช้ = ไม่มี

8. เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
นำมาประยุกต์ใช้ = การออกแบบระบบควรคิดค้นขึ้นเองไม่ควรไปลอกเลียนแบบของผู้อื่น หรือไม่ควรคิดที่จะไปเอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง

9. คิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท
นำมาประยุกต์ใช้ = ไม่ใช่ว่าเห็นระบบของผู้อื่นดี ทำให้เกิดความอิจฉาแร้วไปคิดร้ายหรือทำลายระบบของผู้อื่น

10. เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
นำมาประยุกต์ใช้ = ไม่มี

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อกุศลกรรม10

1. ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์
2. ขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
3. ประพฤติผิดในกาม
4. โกหก หลอกลวง
5. พูดส่อเสียด ดูถูก
6. พูดหยาบ
7. พูดเพ้อเจ้อ นินทา
8. เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. คิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท
10. เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว


ผล ของอกุศลกรรมบถในแต่ละข้อ
- ผลของการทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์ จะเป็นคนรูปร่างไม่งาม มีโรคมาก สุขภาพไม่ดี กำลังกายอ่อนแอ เฉื่อยชา กลัวอะไรง่าย หวาดระแวง มีอุบัติเหตุบ่อย ตายก่อนวัยอันควร อายุสั้น

- ผลของการขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง จะเกิดมาฐานะไม่ดี อดอยาก หวังอะไรไม่สมหวัง ทำธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จ ทรัพย์สินเสียหายพังพินาศ สิ่งของในครอบครองชำรุดเสียหาย

- ผลของการประพฤติผิดในกาม มีความต้องการทางเพศไม่ปกติ จะทำให้มีผู้เกลียดชัง เห็นหน้าแล้วก็ไม่ถูกชะตา เสียทรัพย์ไปเพราะกาม ถูกประจานได้รับความอับอายบ่อย ร่างกายไม่สมประกอบ วิตก ระแวงเกินปกติ พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก คนที่รักไม่ได้ ได้คนที่ไม่รัก พบแต่คนที่มีเจ้าของแล้วมาชอบ คู่มีตำหนิเช่นเจ้าชู้,หม้ายหรืออายุมาก

- ผลของการโกหก หลอกลวง มีจิตบิดเบี้ยวเข้าใจอะไรผิดง่ายๆ จะเป็นคนพูดไม่ชัด ฟันไม่เป็นระเบียบ ปากเหม็นแม้จะดูแลแล้ว ไอตัวร้อนจัด ตาไม่อยู่ในระดับปกติ ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย แม้จะฉลาดเพียงไหนก็จะพบเหตุที่ต้องเสียรู้คนอื่น

- ผลของการพูดส่อเสียด ดูถูก จะเป็นคนชอบตำหนิตนเอง จะถูกลือโดยไม่มีความจริง แตกจากมิตรสหาย จะเกิดในตระกูลต่ำ

- ผลของการ พูดหยาบ จะเป็นคนอยู่ในสถานที่ได้ยินเสียงที่น่ารบกวนไม่สงบ ทั้งบ้านและที่ทำงาน มักหงุดหงิดรำคาญในเสียงต่างๆได้ง่าย มีผิวกายหยาบ น้ำเสียงหยาบ แก้วเสียงไม่ดี เสียงเป็นที่ระคายโสตประสาทของผู้อื่น

- ผลของการพูดเพ้อเจ้อ นินทา จะเป็นคนไม่มีเครดิต ไม่มีใครเกรงใจ เวลาพูดไม่มีใครสนใจฟัง เป็นคนไม่มีอำนาจ มีจิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ สับสน

- ผลของการเพ่งเล็งอยากได้ของที่ไม่ใช่ของตน จะเป็นผู้รักษาทรัพย์สมบัติ รักษาคุณงามความดีไม่ได้ เกิดในครอบครัวอาชีพที่ต่ำต้อย ต้องได้รับคำติเตียนบ่นด่าว่าบ่อย หวังสิ่งใดไม่สมหวัง เสี่ยงโชคยังไงก็ไม่ได้

- ผลของการคิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท จะเป็นคนมีโรคมาก ผิวพรรณและรูปร่างดวงตาไม่สวย มีโรคทรมาน ตายทรมาน โดนทำร้ายตาย

- ผลของ เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว จะเกิดในถิ่นห่างไกลความเจริญ คนป่าคนดอย ด้อยการศึกษา ไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมะที่ทำให้ใจสงบให้ใจปล่อยวาง ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเหมือนเกิดมาว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้

ส่วนบาปที่อยู่บอกเหนือ อกุศลกรรมบถ ก็จะมีเรื่องของศีลข้อที่ห้า คือการดื่มสุราเสพยาเสพติด

- ผลของการชอบดื่มสุราจนเมามาย เสพยาเสพติดกดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท จะทำให้เป็นคนโดนหลอกง่าย ต้องอยู่ร่วมทำงานกับคนพาลชวนทะเลาะ รักษาทรัพย์รักษาชื่อเสียงไว้ไม่ได้ เรียงลำดับการพูดไม่รู้เรื่อง สติปัญญาและสมองไม่แจ่มใส

http://www.oknation.net/blog/zaiseefa/2010/03/11/entry-2

กุศลกรรม10

1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่มีชีวิตให้ตาย และไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า สร้างจิตให้เมตตารักใคร่คน และสัตว์ดิรัจฉาน มีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะให้คน มีความปราศจากทุกข์โดยทั่วหน้ากัน มีความกรุณาสงสารคนและสัตว์ผู้ประสบความทุกข์ยาก งดเว้นการเบียดเบียนให้คนและสัตว์เดือดร้อน เช่น ทำให้อวัยวะ มีแขน ขา เป็นต้น ของคนและสัตว์ให้หักหรือพิการ หรือทรมานสัตว์ให้ได้รับความเหนื่อยยากลำบาก มีมุทิตาพลอยยินดีในเมื่อคนและสัตว์ได้ดี มีลาภ มียศ มีความสุข ความเจริญ งดเว้นจากการอิจฉาริษยาคนและสัตว์ที่ดีกว่าตน และตั้งจิตเป็นอุเบกขาวางเฉย ในเมื่อประสบคนและสัตว์ที่ถึงความปิติ จนไม่สามารถจะช่วยได้ โดยพิจารณาว่าเป็นกรรมของคนและสัตว์นั้นเอง

2. งดเว้นจากการลักขโมยสิ่งของ ๆ คนและสัตว์ และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลักขโมย ไม่หลอกลวงให้ผู้อื่นต้องเสียทรัพย์และชื่อเสียง

หมั่นบำเพ็ญทาน และสละทรัพย์ และสิ่งของให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และสาธารณประโยชน์เสมอ ๆ เพื่อทำให้จิตใจบรรเทาเบาบางลงจากความตระหนี่ และความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน

3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ข่มขืน ทำลามกอนาจาร ล่วงละเมิดสิทธิสตรีและบุรุษอื่น เรียกว่าไม่ทำชู้ในสามีและภรรยาของผู้อื่น พยายามถือสันโดษ ยินดีเฉพาะในภรรยาหรือสามีของตนเท่านั้น ไม่รักหญิงอื่นยิ่งกว่าภรรยาของตน

แม้สิ่งของใด ๆ ของใคร ๆ ก็ไม่ถือโอกาสเอาไปใช้ หรือแตะต้องก่อนได้รับอนุญาติจากเจ้าของ โดยถือหลักว่า “เมื่อไม่มีสิ่งที่ตัวชอบ จงชอบสิ่งที่ตัวมี”

4. งดเว้นจากการพูดเท็จ คือ ไม่พูดโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดตามที่ตนพูด เช่น สิ่งใดที่เรารู้เราเห็น เมื่อเขาถาม เรากลับตอบว่าเราไม่รู้เราไม่เห็น และสิ่งใดที่เราไม่รู้ไม่เห็น แต่กลับตอบว่าเรารู้เราเห็น เป็นต้นเช่นนี้

พยายามพูดแต่คำที่สัตย์จริง หากคำใดเราเห็นว่าพูดออกไปแล้วแม้เป็นความจริง แต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เราก็งดเสียไม่พูดเลย เพราะถ้าไม่พูดคำจริงเราก็พูดเท็จ อันเป็นการทำให้เราเสียกุศลกรรมบถอันนี้

5. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ได้แก่การฟังข้างนี้ แล้วเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อจะทำลายข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้วเอามาบอกข้างนี้ เพื่อจะทำลายข้างโน้น คือ มุ่งหมายยุยงให้เขาแตกจากกัน ทำลายความพร้อมเพรียงกัน

ส่งเสริมผู้ที่แตกกันแล้วให้แตกมากยิ่งขึ้น ยินดีเพลิดเพลินในความเป็นพรรคเป็นพวก เข้าข้างพวกโน้นบ้างพวกนี้บ้าง ทำพรรคต่อพรรคให้แตกจากกัน ตั้งใจพูดแต่คำที่จะสมานไมตรีเชื่อมโยงให้คนโน้นคนนี้มีความรักใคร่ นับถือกัน พูดให้พรรคต่อพรรคปรองดองกลมเกลียวสามัคคีกัน ถ้าเห็นว่าจะช่วยให้เขาสามัคคีกันไม่ได้ก็งดเสีย

6. งดเว้นจากการพูดวาจาหยาบคายที่เผ็ดร้อน ที่เป็นปม เป็นที่ขัดข้องของผู้อื่น เป็นที่ระคายหูของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ยิ่งเป็นคำด่าคำแช่ง แม้แต่กับสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ควรพูดเลย เพราะเป็นการส่อสันดานของตนเองว่าเป็นคนเลว

พยายามพูดแต่คำที่อ่อนหวาน เรียบร้อย นุ่มนวล ละมุนละไม เป็นที่พอใจชุ่มชื่นเบิกบานใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง

7. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ งดการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด ในสถานที่ที่เขาไม่ต้องการให้เราพูด การพูดมากไปกว่าความจริง พูดไม่มีเหตุผล พูดวาจาไม่มีหลักฐาน ไม่พูดตามธรรมวินัย พูดไม่รู้จักหยุด แม้ไม่มีใครอยากฟังแล้วก็ยังพูดเรื่อยเปื่อยไปโดยไม่มีประโยชน์

ต้องใช้สติสัมปชัญญะในการพูดทุกครั้ง ถึงเป็นเรื่องจริงก็ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ พูดให้มีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้ พูดให้ถูกตามธรรมตามวินัย พูดแต่พอเหมาะพอสมควรไม่ให้มากเกินเรื่องราวจนจับไม่ได้ว่าเรื่องอะไร ซึ่งเรียกว่า “พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง” หรือ “พูดกระบุงเอาสักกระบายไม่ได้” ดังนี้ ถ้าเห็นว่าพูดแล้วมีประโยชน์แก่ผู้ฟังจึงพูด ถ้าเห็นว่าพูดแล้วจะไม่มีประโยชน์เลยก็อย่าพูดเสียดีกว่า จงนึกถึงภาษิตโบราณไว้เสมอว่า
“อันดีชั่วสุดนิยมที่ลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา

จะถูกผิดเป็นมนุษย์เพราะพูดจา

จะเจรจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”

8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ได้แก่ เมื่อเห็นพัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สอย ทั้งที่มีวิญญาณ และไม่มีวิญญาณของผู้อื่นแล้ว แม้ตนจะชอบพอใจก็ไม่พยายามเพ่งว่า ขอให้สมบัติของผู้นั้นจงมาเป็นของเรา หรือครุ่นคิดแต่ในใจว่า ทำไฉนเราจึงจะได้ทรัพย์สมบัติของผู้นั้นหนอดังนี้

จงพยายามคิดให้เห็นว่า ทรัพย์สมบัติเครื่องใช้สอยอย่างดีเป็นอันมาก เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นก็เพราะเขาได้ทำความดีเป็นบุญเป็นกุศลมาก่อน แม้ชาตินี้เราไม่เห็นเขาทำอะไร ก็คงเป็นเพราะเขาทำมาแล้วแต่อดีตชาติโน้น ผลจึงเกิดสนองให้เขาเป็นคนมั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติอันน่าปลื้มใจ เช่นนั้นถ้าเราไปโลภอยากได้ของเขา จะทำให้เกิดเป็นบาปแก่ใจ คือเป็นสนิมเกาะกินจิตใจของเราเหมือนสนิมอันเกิดแก่เหล็ก และเกาะกินเนื้อเหล็กฉะนั้น ทำให้จิตใจของเรากร่อนอ่อนกำลังลงไม่สามารถจะทำความดีอย่างอื่นได้

ควรพยายามแสดงมุทิตาจิตพลอยยินดีต่อผู้นั้น แล้วพยายามบำเพ็ญบุญกุศล เช่นให้ทาน เสียสละความโลภของตนให้เบาบางลง และขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่นในการทำความดีเป็นต้น ผลจะบังเกิดแก่ตนเองในภายหลัง

9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่คิดอยากให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่จองเวรต่อสัตว์และคนอื่น ไม่ตั้งใจที่จะให้ใคร ๆ เป็นผู้ฉิบหาย หรือวิบัติด้วยประการใด

แม้จะโกรธเคืองใครบ้าง โดยที่เขามาทำอะไรให้เสียหาย หรือมาด่าว่าให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจ ก็ไม่อาจอาฆาตพยาบาทจองเวรผู้นั้นต่อไปอีก เช่น เขามาทำร้ายเราก็ให้คิดเสียว่า เพราะเราระวังตัวไม่ดีหรือเพราะเราเคยทำร้ายให้เขาเดือดร้อนมาก่อนแล้ว กรรมจึงติดตามมาสนองเรา ขอให้เป็นการใช้หนี้

กรรมกันสุดสิ้นแต่เพียงชาตินี้เถิด หรือเขามาโกงเงินเรา โดยยืมไปแล้วไม่ใช้คืน หรือเข้าหุ้นกันแล้วเขาโกงไปเสีย เช่นนี้จงคิดว่าเราเคยโกงเขามาแล้วในชาติก่อนโน้น เขาจึงโกงเอาคืนไป ขอให้สิ้นสุดเวรกรรมกันเสียที ตั้งใจแผ่เมตตาให้เขาเหล่านั้นจงเป็นผู้มีความสุขปราศจากทุกข์ มีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด อย่าพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกันเลย พิจารณาให้เห็นโทษว่า การพยาบาทนั้นมันทำให้เราเดือดร้อนกระวนกระวาย กระสับกระส่ายเป็นทุกข์ใจไปคนเดียว เราเป็นผู้ขาดทุนคนเดียวแท้ ๆ จักผ่อนคลายความพยาบาทลงได้มากทีเดียว หรือคิดให้เห็นว่า ความพยาบาทนี้หากจองเวรกันตลอดไปแล้วย่อมไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนงูเห่ากับพังพอน

10. เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม ได้แก่ เห็นว่าบุญมีจริงบาปมีจริง ผลของบุญมี ผลของบาปมี คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว นรกมี สวรรค์มี และนิพพานก็มี โลกนี้โลกอื่นมี ชาตินี้ชาติหน้ามี

http://www.bcoms.net/buddhism/detail.asp?id=170